Font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมันครับ “font” มาจากคำว่า “fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font” จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น
Type คือ ตัวอักษรที่เกิดจากการพิมพ์ไม่ใช้เกิดจากการเขียนด้วยลายมือ รูปรอยตัวอักขระที่เกิดจากเครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ แล้วนำไปสื่อสารสู่ผู้คนจำนวนมาก
Typeface คือ รูปแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร” นั่นเอง ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ครับ ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica” พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา(font-weight)”, “ความกว้าง(font-stretch)” และ “ความเอียง(font-style)” นั่นเอง
Typography คือ ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพื่อการสื่อสาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร(Typefaces)และการจัดวางชุดแบบตัวพิมพ์(Fonts)ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระับบการพิมพ์และการเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด
Typography หมายถึงตัวพิมพ์ การทำตัวพิมพ์ ศิลปะการพิมพ์ การพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ การจัดตัวเรียง และผลงานการพิมพ์อันเนื่องมาจากตัวพิมพ์ ตัวอักษร เป็นพยัญชนะ ตัวหนังสือ ตัวเลข ที่มาเรียงเป็นข้อความ เป็นส่วนหนึ่งของงานพิมพ์ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เพราะช่วยให้เกิดการสื่อสารตามจุดประสงค์ของสิ่งพิมพ์นั้น ในการพิมพ์ระยะแรกๆ (ประมาณกลางศตวรรษที่ 5 ) ยังไม่มีการพิมพ์ตัวอักษร ส่วนมากเป็นการพิมพ์ในลักษณะการประทับตราและพิมพ์เป็นภาพ ต่อมามีความจำเป็นในการที่จะต้องบันทึกเรื่องราวบันทึกหลักฐานต่างๆไว้ หรือแจ้งข่าวให้คนส่วนใหญ่รับยรู้ จึงเกิดการพิมพ์เป็นตัวอักษรขึ้น และมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมา โดยเริ่มตั้งแต่การเขียน การออกแบบตัวอักษร (Lettering ) จนในปัจจุบันเรามีตัวอักษรที่สร้างขึ้นเป็นแบบมาตรฐาน เรียกว่าตัวเรียงซึ่งมี 2 ลักษณะ คือตัวเรียงแบบร้อน เกิดจากการหล่อด้วยโลหะเช่นตะกั่ว ทองแดง ฯลฯ และตัวเรียงแบบเย็น เกิดจากการสร้างตัวอักษรโดยใช้ระบบการอัดภาพบนแผ่นกระดาษ ตัวเรียงแบบเย็นนี้ จะต้องนำไปผ่านกระบวนการอื่นอีขั้นหนึ่งก่อนจึงจะเป็นแม่พิมพ์ได้ (ถ่ายฟิล์ม อัดเพลท)
Character คือ ลักษณะและอารมณ์ของตัวอักษร ตัวอักษรแต่ละแบบให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการแสดงออกเช่น ความหวานซึ้งของนวนิยาย ความลึกลับน่าสะพึงกลัว ของเรื่องผี ความยิ่งใหญ่ของ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวประดิษฐ์หรือตัวเรียง
Alphabet หมายถึงชุดตัวอักขระที่เป็นตัวอักษร เช่น A-Z หรือ ก-ฮ (ไม่รวมตัวเลข หรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น